มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๓)
พระราชาจึงตรัสถามนายคามณิจันท์ว่า "แล้วความจริงมันเป็นอย่างไรล่ะ ท่านจงเล่ามาซิ" เขาได้เล่าเรื่องราว ทั้งหมดไปตามความเป็นจริง ตั้งแต่ที่ยืมโคไปแล้ว จนเอามาส่งคืน แต่ยังไม่ได้บอกเจ้าของเพราะเจ้าของโคกับภรรยากำลังทานข้าวอยู่ และเจ้าของก็เห็นแล้วว่า โคเข้าบ้านไปแล้ว แต่ตอนที่โคหายไปนั้น หายไปตอนกลางคืน ซึ่งไม่รู้ว่าใครขโมยไป ส่วนพระราชาจะตัดสินอย่างไรนั้น
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - แก้ปัญญาหาด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง (๑)
มื่อเรามองผ่านแสงสว่างภายใน เราจะเห็นโลก เห็นภพ และสรรพสิ่งไปตามความเป็นจริง เห็นได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง ยิ่งกว่าการมองผ่านแสงสว่างภายนอก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดภาพลวงตาได้ แต่แสงสว่างภายในที่เกิดเมื่อใจบริสุทธิ์หยุดนิ่ง จะทำให้เรารู้เห็นไปตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีอยู่จริงๆ เพราะว่าเป็นความสว่างที่เกิดจากความบริสุทธิ์ของดวงจิต
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 2
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงสัพพัญญู จึงได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตชาติมาตรัสเล่า มีเรื่องราวดังจะกล่าวต่อไปนี้ บนผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหาร เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ควรแก่การสถาปนาเป็นมหาอาณาจักร ณ ผืนแผ่นดินนี้เอง ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งวิเทหรัฐอันรุ่งเรือง ราชธานีมีนามว่า มิถิลานคร เป็นมหานครอันคับคั่งด้วยชาวประชา
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 2
พระราชาสดับดังนั้น ทรงมีปีติเป็นยิ่งนัก จึงทรงดำริว่า ลูกเรามาเกิดเพื่อสืบต่อวงศ์ของเราโดยแท้ เปรียบเหมือนล้อรถที่หมุนตามกันมา ฉะนั้น เหตุนี้เองพระองค์จึงทรงขนานพระนามของพระราชโอรสว่า เนมิราชกุมาร ซึ่งแปลว่า กุมารผู้เป็นเหมือนล้อรถ ที่หมุนเวียนมาเพื่อตามรักษาประเพณีอันดีงามของวงศ์ตระกูลให้สืบต่อไป
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ตายแทนกันได้
นายพรานก็มีใจอ่อนโยน เกิดหิริโอตตัปปะ ได้คิดว่า "รางวัล และยศจากพระราชาจะมีประโยชน์อะไร ถ้าเราทำร้ายสัตว์ผู้มีคุณธรรมเช่นนี้ แผ่นดินจะต้องสูบเรา หรือสายฟ้าจะต้องฟาดลงบนกระหม่อมของเราเป็นแน่"
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 15
สิ่งที่ได้ยากที่สุดกลับเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ด้วยตาเปล่า แต่สัมผัสได้ด้วยใจ นั่นก็คือความสุขที่แท้จริงที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง เป็นสิ่งที่ชาวโลกมักมองข้ามกัน เพราะมัวเอาใจไปติดอยู่กับสิ่งของนอกตัวซึ่งเป็นเครื่องล่อให้ติดอยู่ในภพ ทั้งสาม
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๗ ( ความจริงปรากฏ )
ครั้นเทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่เศวตฉัตรของพระราชา ไม่ได้สดับธรรมเทศนาของพระโพธิสัตว์หลายวัน และรู้ว่ามโหสถถูกกลั่นแกล้ง คนดีเทวดาต้องคุ้มครองรักษา พระราชาพระองค์นี้เป็นคนหูเบา มีปัญญาน้อย ไม่รู้จักเลือกใช้คนให้เป็น อาศัยกินบุญเก่าเท่านั้นถึงได้มาบังเกิดเป็นพระราชา เทวดาจึงคิดหาวิธี ที่จะให้มโหสถกลับมาอยู่ในราชสำนักตามเดิม เพื่อตนจะได้ฟังธรรมของมโหสถอีก
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 11
ฝ่ายพระราชธิดาเพียงได้สดับคำว่า “มหาชนก” ความรักประดุจภรรยาสามีก็ได้บังเกิดซาบซ่านไปทั่วผิวกาย แทรกซึมเข้าสู่ภายในทุกอนูเนื้อกระทั่งจรดเยื่อในกระดูก
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 12
พระมหาชนกโพธิสัตว์ได้ทรงผ่านบดทดสอบ และสามารถไข้ปัญหาแห่งขุมทรัพย์ได้ครบทั้ง ๑๖ ข้อ ได้ครองราชสมบัติด้วยพระอัจฉริยภาพอย่างเต็มภาคภูม
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 8
พระมหาชนกตรัสว่า “ท่านพูดอะไรอย่างนั้น เราทำความพยายาม แม้จะตายก็พ้นคำครหา บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ได้ชื่อว่า ไม่เป็นหนี้ในระหว่างหมู่ญาติ กับทั้งบิดามารดาและเทวดา อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง ดูก่อนเทพธิดา บุคคลเมื่อทำความเพียร แม้จะตายก็ไม่เป็นหนี้ ย่อมไม่ถูกติเตียนในระหว่างหมู่ญาติ แม้เทวดาและพรหมก็สรรเสริญ”